การจำแนกประเภทของการ์ดจอคอมพิวเตอร์
หากจะต้องแบ่งการ์ดจอออกเป็นแต่ละประเภท
ก็คงแบ่งได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเราจะยกตัวอย่างการแบ่งการ์ดจอได้ดังนี้
-แบ่งตามลักษณะของฮาร์ดแวร์
-แบ่งตามบริษัทผู้ผลิต
-แบ่งตามลักษณะของการใช้งาน
การแบ่งประเภทของการ์ดจอตามลักษณะของฮาร์ดแวร์
เราสามารถแบ่งการ์ดจอให้อยู่ในรูปแบบลัษณะของฮาร์ดแวร์ที่ใช้งานได้
2 ประเภทดังนี้
1.
การ์ดจอออนบอร์ด
(On-Board) – คือการ์ดจอที่ถูกติดตั้งมาบนแผงวงจร Mainboard
(เมนบอร์ด) โดยจะเป็นแผงวงจรเดียวกับ Mainboard
ไม่สามารถถอดออกได้ และไม่สามารถอัพเกรดได้
2.
การ์ดจอแยก (Out-Board) – คือการ์ดจอลักษณะเป็นการแยกจาก Mainboard
(เมนบอร์ด) โดยชัดเจน เป็นคนละชิ้่นส่วนกัน แต่การ์ดจอจะเสียบอยู่บนเมนบอร์ดในลักษณะการเชื่อมต่อภายนอก
สามารถถอดเข้าถอดออกได้ และสามารถที่จะอัพเกรดเอาตัวใหม่มาใส่ได้
(การอัพเกรดการ์ดจอ ขึ้นอยู่กับการรองรับของเมนบอร์ดรุ่นนั้นๆ
และแหล่งไฟเลี้ยงระบบ (Power Supply) ด้วย
ผู้ใช้งานควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน)
ในลักษณะของการประมวลผลทั้ง 2 แบบด้านบนนี้
ส่วนที่แตกต่างกันเราสามารถสรุปได้ดังนี้
การ์ดจอออนบอร์ดจะใช้งานการประมวลผลกราฟฟิกจาก CPU หน่วยประมวลผลหลักของคอมพิวเตอร์
แต่สำหรับการ์ดจอแยกจากเมนบอร์ดนั้นจะใช้งาน Graphics Processing Unit
(GPU) แยกจาก CPU อย่างชัดเจน ทำให้เรื่องประสิทธิภาพการประมวลผลกราฟฟิกนั้น
การ์ดจอแยกจะดีกว่ามากๆ เพราะไม่รบกวนการทำงานของระบบ CPU ซึ่งจะต้องประมวลผลทุกๆส่วนของระบบคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว
(แต่หากการใช้งานทั่วๆไปก็คงไม่เห็นผลมากนัก
นอกจากการที่จะต้องประมวลผลภาพกราฟฟิคสูงๆ เช่น การเล่นเกมส์ เป็นต้น)
การ์ดจอแบบแยกจะต้องซื้อมาใส่เพิ่มกับเมนบอร์ด
หากว่าเมนบอร์ดมีการ์ดจอแบบ ออนบอร์ดอยู่แล้ว
ให้เสียบสายหน้าจอที่การ์ดจอที่เราทำการซื้อมาใส่ หากเสียบสายที่เมนบอร์ด
เท่ากับว่าเราใช้งานการ์ดจอแบบออนบอร์ด เพราะฉะนั้น
โปรดระวังในเรื่องของการเสียบสายหน้าจอด้วย
(ปัจจุบันเมนบอร์ดบางรุ่นไม่มีการ์ดจอแบบออนบอร์ดมาให้
จะต้องซื้อการ์ดจอแยกมาใส่เพิ่มเอง)
การทำงานของ GPU ย่อมเร็วกว่า CPU (ทางด้านการประมวลผลกราฟฟิคเท่านั้น) เพราะว่า GPU จะเน้นจำนวน
Core ที่เยอะกว่า CPU แต่หมายถึง 1
Core ของ GPU จะมีได้ประมวลผลเร็วเทียบเท่ากับ
1 Core ของ CPU เนื่องจากการประมวลผลกราฟฟิคของการ์ดจอจะเน้นการทำงานหลายๆ
Core พร้อมๆกัน (Multi-Core Processing) ซะมากกว่า
การแบ่งประเภทของการ์ดจอตามผู้ผลิต
ในปัจจุบัน
บริษัทที่ผลิตการ์ดจอออกมาจำหน่ายมีอยู่ด้วยกัน 2 บริษัทใหญ่ๆ ซึ่งเราจะได้เห็นกันในตลาดการ์ดจอทั่วไป
ในส่วนนี้เราจะพูดถึงการ์ดจอแบบแยกเท่านั้น
เพราะสามารถซื้อขายและนำมาเปลี่ยนบนเมนบอร์ดได้เลย
1.
Nvidia – สัญลักษณ์รูปตาสีเขียว
มีประสิทธิภาพสูง และราคาค่อนค้างจะสูงหากเทียบกับ ATI หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน
2.
ATI – สัญลักษณ์เป็นสีแดงคล้ายไฟ
มีประสิทธิภาพพอสมควร หากจะมองทางด้านเทคโนโลยีอาจจะยังไม่สามาระเทียบเท่ากับ Nvidia
ได้ แต่ราคาจะถูกกว่า หากเทียบที่ประสิทธิภาพเท่าๆกัน
การแบ่งประเภทการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งาน
เราสามารถแบ่งการ์ดจอตามลักษณะของการใช้งานได้ทั้งหมด
4 ประเภทดังต่อไปนี้
1.
การใช้งานแสดงผลทั่วไป – ไม่เน้นกราฟฟิกเลย
ส่วนมากจะใช้งานเป็นการ์ดจอแบบ On-Board หรือการ์ดจอที่ติดมากับ
Mainboard อยู่แล้ว ไม่มีการเสียบการ์ดจอเพิ่ม
2.
การใช้งานแสดงผลกราฟฟิกเล็กน้อย – ส่วนมากจะเน้นทางด้านดูหนัง เน้นความบันเทิง
แต่ไม่รวมการเล่นเกมแบบ 3D หรือ Animation บนกราฟฟิคสูงๆ จะใช้งานการ์ดจอที่มีประสิทธิภาพการแสดงผลต่ำและราคาถูก
แต่รองรับการแสดงผลระดับ HD ขึ้นไป
3.
การเล่นเกมและการแสดงผล
3D – เน้นการเล่นเกมบนภาพที่สมจริงเป็นหลัก
ส่วนมากจะใช้งานการ์ดจอที่รองรับการแสดงผลแบบ 3 มิติ
หรือการ์ดจอที่มีการแสดงผลที่สูงมากๆ ราคาของการ์ดจอชนิดนี้อาจจะโดดสูงอยู่บ้าง
หากอยากได้ตัวที่สามารถเล่นเกมได้แบบไม่กระตุก หรืออาจจะเป็นลักษณะของการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว
(เทคโนโลยีการใช้งานการ์ดจอตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป
มาช่วยกันทำงาน ซึ่งจะพูดถึงในบทความต่อๆไป)
4.
การใช้งานด้าน Graphic Workstation – เน้นทางด้านการทำงานด้านการออกแบบ
การใช้งานโปรแกรมออกแบบสร้างผลงานทางด้านกราฟฟิก ซึ่งจะต้องใช้การประมวลผลของระบบ Graphics
Processing Unit (GPU) อยู่ตลอดเวลาและแบบ Real-Time
เพื่อให้งานเดินไปอย่างราบรื่น
การ์ดจอที่ใช้งานจะต้องมีประสิทธิภาพสูงมากๆ และมีการต่อพ่วงการ์ดจอหลายๆตัว
หรือต่อพ่วง GPU เพิ่มเติมเพื่อใช้ในการประมวลผลภาพที่สมบูรณ์สมจริงและรวดเร็ว
ปัจจุบันการ์ดจอชนิดนี้ได้แก่ NVIDIA QUADRO และ AMD
FirePro ซึ่งราคาจะสูงมากๆ ไม่เหมาะกับการนำมาเล่นเกม ซักเท่าไร
เพราะว่าคอเกมทั้งหลาย แค่ใช้การ์ดจอสำหรับเล่นเกมก็เหลือๆแล้ว
แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://downloaddd.in.th/knowledge/computer/graphic-card
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น